ที่ผ่านมามีข้อมูลจากการศึกษาหลายฉบับระบุว่าผู้ที่มีรายได้น้อยในเขตเมืองมักมีสุขภาพไม่ดีและมีตัวเลือกในการบริโภคอาหารที่แย่กว่าเมื่อเทียบกับคนรายได้สูง แต่ถ้าได้เข้าร่วมกิจกรรม urban farming โอกาสที่พวกเขาจะมีสุขภาพดีก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น
พูดง่ายๆว่า เมื่อได้ทำสวนปลูกผักปลูกต้นไม้ปลูกดอกไม้ใช้ชีวิตทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกวัน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเมืองที่มีรายได้มากหรือน้อยก็สามารถกลายเป็นคนที่มีสุขภาพดีขึ้นได้ใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะการทำสวนช่วยให้ความเครียดลดลงผลคือฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญการนอนหลับและระบบต่อมไร้ท่อทำงานได้ดีขึ้น โอกาสที่จะเกิดภาวะดื้ออินซูลินก็ลดลงฮอร์โมนเกรลินที่ช่วยควบคุมความรู้สึกอยากอาหารก็เป็นไปตามปกติจึงช่วยลดโอกาสเกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังอื่นๆไปโดยปริยาย
นอกจากจะเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกินได้แล้วเมื่อผักผลไม้ให้ผลผลิตเก็บกินได้ผู้ที่ปลูกก็จะได้กินผักผลไม้สดๆทุกวันจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงและป้องกัน กลุ่มโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจเบาหวานความดันโลหิตสูงและโรคอ้วนได้
ข้อมูลข้างต้นปรากฏในการศึกษาเรื่อง
The influence of social involvement, ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร
American journal of public health.
source: ชีวจิต